Knowledge Basics

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน vs การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค

Fundamental analysis vs Technical Analysis 

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน vs การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค

2 กลยุทธ์เทรดพื้นฐานที่นักเทรดต้องรู้ ที่ใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มของการซื้อขายไม่ว่าจะในระยะสั้น หรือระยะยาว และมีการใช้แพร่หลายกันในตลาด Forex และสินทรัพย์ CFD อื่นๆ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะเน้นการวิเคราะห์เศรษฐกิจ เหตุการณ์บ้านเมืองต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุที่ขับเคลื่อนค่าสกุลเงิน ในขณะที่การวิเคราะห์ทางเทคนิคจะวิเคราะห์ผลลัพธ์ในอดีต โดยดูจากกราฟที่มีเคลื่อนไหวของราคา ปริมาณ (volume) ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (moving averages) และสถิติอื่น ๆ เพื่อทำการวิเคราะห์ 

สำหรับเนื้อหาในบทความนี้ STARTRADER จะกล่าวถึงความแตกต่าง จุดเด่น จุดด้อย และปัจจัยที่ใช้วิเคราะห์ของ 2 เทคนิคนี้ ให้เทรดเดอร์ได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เพื่อการเทรดที่มีประสิทธิภาพ

Fundamental analysis (การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน) คืออะไร?

การวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานใช้เพื่อประเมินการซื้อขาย เช่น หุ้น ดัชนี สกุลเงิน และสินค้าโภคภัณฑ์ เทรดเดอร์สามารถประเมินได้ด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น ภาวะการเมือง GDP ของประเทศ ระดับการว่างงาน ภาวะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และผลการดำเนินงาน และฐานะทางเงินของบริษัทผู้ออกหุ้น ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อหรือขาย การวิเคราะห์สายนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “นักเทรดสายข่าว”

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็ยสิ่งสำคัญต่อการเทรด Forex ช่วยให้เทรดเดอร์วิเคราะห์มูลค่าของการซื้อขายได้แม่นยำ โดยการใช้ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมเป็นตัวประเมิน ตัวบ่งชี้สำคัญหลัก ๆ ที่เทรดเดอร์ Forex นิยมใช้ได้แก่ การเติบโตของ GDP อัตราเงินเฟ้อ ข้อมูลการจ้างงาน และอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากเป็นตัวชี้สภาวะทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี 

ตัวอย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าของสกุลเงินสูงขึ้น ในทางกลับกัน อัตราดอกเบี้ยที่ลดลดงอาจส่งผลให้มูลค่าสกุลเงินลดลง ประเทศที่มีรัฐบาลและเศรษฐกิจที่ดีส่งผลต่อมูลค่าของสกุลเงินเช่นกัน ด้วยปัจจัยเหล่านี้จึงสำคัญต่อเทรดเดอร์ Forex อย่างยิ่งที่จะศึกษาเพื่อการเทรดที่ดีมากขึ้น 

เหมาะกับนักเทรดแบบใด

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของสินทรัพย์ที่อาจจะมีการเติบโตในอนาคต เหมาะกับการลงทุนในระยะยาว ด้วยข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ช่วยให้เทรดเดอร์มีความเข้าใจและเห็นภาพรวมของสินทรัพย์ที่จะลงทุนกว้างมากขึ้น 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานในการเทรด Forex

1. ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ เช่น การเติบโตของ GDP อัตราเงินเฟ้อ ข้อมูลการจ้างงาน ดุลการค้า และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ตัวเลขเหล่านี้จะเป็นตัววัดสุขภาพของเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ที่ส่งผลต่อค่าสกุลเงินอีกด้วย

2. นโยบายของธนาคารกลาง และอัตราดอกเบี้ย

นโยบายการเงินและการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางส่งผลโดยตรงต่อค่าสกุลเงิน อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้สกุลเงินแข็งค่า ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงอาจทำให้สกุลเงินมีมูลค่าลดลง

3. นโยบายเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางการเมือง

 สองอย่างนี้สื่อถึงคุณภาพของประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อค่าเงิน ความตึงเครียดทางการเมืองสื่อถึงความไม่แน่นอนภายในประเทศ ทำให้เกิดความผันผวนในตลาดฟอเร็กซ์

4. ดุลการค้าของประเทศ

การเกินดุลการค้าบ่งบอกถึงความต้องการที่แข็งแกร่งสำหรับสกุลเงิน ตรงข้ามกับการขาดดุลอาจทำให้สกุลเงินอ่อนค่าลงได้

5. ความเชื่อมั่นของตลาด ส่งผลต่อความผันผวนในระยะสั้นของค่าสกุลเงินได้ เช่นพวกข่าวต่าง ๆ โซเชียลมีเดียมีผลอย่างรวดเร็วต่อความเชื่อมั่นของเทรดเดอร์

6. การคาดการณ์ทางเศรษฐกิจ และแนวโน้มเศรษฐกิจโลก

เช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย วิกฤตการณ์ทางการเงิน อาจส่งผลต่อค่าสกุลเงิน การคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ก็อาจจะส่งผลต่อการผันผวนในตลาดได้เช่นกัน 

7. การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและดุลการค้าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสกุลเงินของประเทศผู้ส่งออกสินค้าได้

8. เหตุการณ์ระดับโลก

เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคระบาด สงครามระหว่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจโตช้าลงและส่งผลต่อสกุลเงิน

9. ปฏิทินเศรษฐกิจ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเทรดเดอร์ในการอัปเดตเหตุการณ์สำคัญและประกาศกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือวางแผนการเทรดที่ดี 

จุดเด่น

ได้รับข้อมูลในวงกว้าง เหมาะสําหรับนักลงทุนระยะยาว

การวิเคราะห์ด้วยข้อมูลพื้นฐาน เทรดเดอร์จะใช้ข้อมูลประกอบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางเศรษฐกิจ ข้อมูลของการเงินธุรกิจนั้น ๆ เพื่อใช้วิเคราะห์แนวโน้มของตลาด ทำให้ได้รับข้อมูลที่กว้างขวาง

มีการประเมินบริษัทอย่างละเอียด

การวิเคราะห์ด้วยข้อมูลพื้นฐานต้องอาศัยข้อมูลอย่างละเอียดจากหลายๆ แหล่งข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์การซื้อขาย ถือเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากเทรดเดอร์จะมองความเป็นไปได้ในการลงทุนได้ละเอียดมากขึ้น เพราะได้เห็นข้อมูลในเชิงลึกของธุรกิจนั้น ๆ

กําหนดระดับการประเมินค่าได้

ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก จะช่วยให้เทรดเดอร์พิจารณามูลค่าบริษัทได้ว่าจะลดลงหรือเติบโตในอนาคต

เป็นตัวจัดการความเสี่ยงที่ดี

ข้อดีของการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานคือสามารถช่วยจัดการความเสี่ยงได้หลายวิธี เนื่องจากเทรดเดอร์ต้องศึกษาอัปเดตข้อมูลใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ทำให้รับรู้ถึงความเสี่ยงที่จะลงทุนในแต่ละช่วงเวลา

จุดด้อย

การวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานอย่างละเอียดอาจมีความซับซ้อนและใช้เวลานาน เทรดเดอร์จะต้องศึกษาและเข้าถึงข้อมูลการตลาดที่น่าเชื่อถือ ทำให้มีการใช้เวลานานขึ้นในการวิเคราะห์ 

คุณภาพของการวิเคราะห์พื้นฐานขึ้นอยู่กับทักษะของเทรดเดอร์เช่นกัน หากนักลงทุนเข้าใจพื้นฐานการเทรดเป็นอย่างดี จะช่วยให้เทรดเดอร์วิเคราะห์ข้อมูลตลาดง่ายยิ่งขึ้น 

มีข้อจํากัดของการใช้งาน การวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานนั้นสามารถวิเคราะห์ได้ในตลาดหุ้น ตลาด Forex และตลาดตราสารหนี้ แต่กับสินทรัพย์และหลักทรัพย์อื่น ๆ เช่น commodities และ cryptocurrencies บางตัว อาจจะไม่มีข้อมูลทางการเงินและปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องที่สามารถวิเคราะห์ได้

ไม่เหมาะสมสําหรับการลงทุนระยะสั้น การวิเคราะห์แบบนี้จะไม่สนใจความผันผวนระยะสั้นในตลาดหรือมูลค่าเฉพาะของสินทรัพย์ ซึ่งหมายความว่าไม่เหมาะสมกับนักลงทุนที่มีขอบเขตการลงทุนระยะสั้น 

Technical Analysis (การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค) คืออะไร?

การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคคือ การวิเคราะห์กราฟ เป็นอีกวิธีที่มีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และคาดการณ์ทิศทางราคาในอนาคต โดยใช้ข้อมูลในอดีต สามารถใช้ได้ทั้งตลาดหุ้น ทองคำ Forx คริปโทเคอร์เรนซี และอื่น ๆ อีกมากมาย 

เครื่องมือที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ได้แก่ 

1.กราฟแท่งเทียน (Candlestick Pattern) ใช้วิเคราะห์แนวโน้มและรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคา  พิจารณาที่บริเวณ “แนวรับ-แนวต้าน” เทรดเดอร์สามารถเห็น ราคาเปิด, ปิด, ราคาสูงสุด และต่ำสุดจากแท่งเทียน 

2.กราฟราคา (Chart Pattern) ดูจากชุดของแท่งเทียนที่รวมกันในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ วิธีนี้ช่วยในการระบุทิศทางแนวโน้มของราคาที่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงนั้น ๆ

3.เทคนิค Fibonacci Retracement ใช้เพื่อดูทิศทางของกราฟราคา หาราคาเป้าหมายและจุดที่ราคาพักตัว

4.ใช้อินดิเคเตอร์ (Indicator) เช่น Moving Average ปริมาณการซื้อขาย (Volume) หรือ เครื่องมืออย่าง RSI, Stochastic เป็นต้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคในการเทรด Forex

ปัจจัยหลักๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค คือ สภาพคล่องสูง, ราคาต้องไม่ถูกแทรกแซง และไม่มีข่าวที่ส่งผลกระทบรุนแรง 

ความเข้าใจตลาดอย่างแท้จริง ก่อนลงมือใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค

ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับราคา รวบรวมข้อมูลราคาในอดีตที่น่าเชื่อถือและแม่นยำเพื่อทำการวิเคราะห์ เช่น ข้อมูลพื้นฐาน เหตุการณ์ทางการเมือง ภาพรวมของเศรษฐกิจ เป็นต้น

เข้าใจกราฟและรูปแบบ เช่นเส้นแนวโน้ม ระดับแนวรับและแนวต้าน และอื่น ๆ ที่มีผลต่อการวิเคราะห์ราคา รวมไปถึงการใช้งาน Indicators ต่างๆ เพื่อการเทรดที่มีประสิทธิภาพ

ทำความเข้าใจกับกรอบเวลาที่แตกต่างกัน (รายวัน รายชั่วโมง นาที) จะให้ข้อมูลราคาที่ไม่เหมือนกัน เทรดเดอร์ที่ชอบเทรดแบบสั้นๆ อาจจะใช้กราฟระหว่างวัน เทรดเดอร์ที่เทรดระยะยาวอาจจะใช้กรอบเวลาที่สูงขึ้น

ใช้กราฟราคาในอดีตเพื่อดูความน่าจะเป็นของโอกาสที่จะเกิดขึ้นอีกครั้ง 

มีการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม เช่น การตั้งค่าระดับ stop-loss และ take-profit 

การทดสอบย้อนหลัง เพื่อให้แน่ใจว่าการซื้อขายนี้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

ฝึกฝนการใช้เครื่องมือต่าง ๆ และมีสติพร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลงของราคาแบบฉับพลัน 

มีแผนการเทรดอยู่เสมอ 

จุดเด่น

การวิเคราะห์กราฟเทคนิคมีจะช่วยให้เทรดเดอร์เห็นภาพรวมของตลาดรวดเร็วมากยิ่งขึ้น สามารถคาดเดาจุดซื้อขายโดยไม่เสี่ยงต่อการขาดทุน เพราะเทรดเดอร์สามารถใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงคู่กับการวิเคราะห์ทางเทคนิคได้ เทรดเดอร์เพียงแค่ต้องมีความเข้าใจในใช้เครื่องมือและเทคนิคให้มีความชำนาญ

จุดด้อย

ต้องอาศัยประสบการณ์และฝึกทักษะในการใช้เครื่องมือทางเทคนิคเพื่อวิเคราะห์การซื้อขาย 

ด้วยความผันผวนสูง ควรนำเอาการวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้ามาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เพื่อการเทรดที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สรุปความแตกต่าง Technical Analysis และ Fundamental Analysis

การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค – ใช้การวิเคราะห์กราฟราคาและรูปแบบราคา

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน – ศึกษาข้อมูลทางเศรษฐกิจและธุรกิจ

อย่างไรก็ตามในโลกแห่งการเทรด ที่มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา การเลือกใช้เทคนิคใดเทคนิคหนึ่งก็ล้วนต้องอาศัยการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความเข้าใจและประสบการณ์ของเทรดเดอร์  การวิเคราะห์ทั้งสองเทคนิคสามารถใช้ร่วมกันได้ เพื่อการเทรดที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับนักเทรดมือใหม่ควรศึกษาทั้งสองวิธี เพื่อหาค้นหาความถนัดของตัวเอง หรือนำมาปรับใช้ด้วยกัน

*การซื้อขายและลงทุนใน Forex และ CFD มีความเสี่ยงสูง อาจทำให้สูญเสียมากกว่าเงินทุนทั้งหมด

 

thailand

Recent Posts

ประกาศเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายประจำเดือนธันวาคม

เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ โปรดตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ตามวันหยุดประจำเดือนธันวาคม โปรดดูตารางด้านล่างสำหรับตราสารอนุพันธ์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง: วันที่ 24 ธันวาคม 2024 (วันอังคาร) 25 ธันวาคม 2024 (วันพุธ) 26 ธันวาคม 2024…

3 days ago

ประกาศเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายประจำเดือนธันวาคม

เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ โปรดตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ตามวันหยุดประจำเดือนธันวาคม โปรดดูตารางด้านล่างสำหรับตราสารอนุพันธ์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง วันที่ 16 ธันวาคม 2024 (วันจันทร์) 23 ธันวาคม 2024 (วันจันทร์) วันหยุด วันแห่งการปรองดอง คริสต์มาสอีฟ…

1 week ago

Announcement on Recent Gold Spread Fluctuations

Dear Valued Clients, The global gold market has experienced significant volatility recently, with market liquidity…

1 week ago

(อัปเดต)แจ้งเตือนการโรลโอเวอร์ประจำเดือนธันวาคม

เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ ขอเรียนให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ซื้อขาย CFD ต่อไปนี้จะโรลโอเวอร์อัตโนมัติตามวันที่ระบุไว้ในตารางด้านล่างนี้ เนื่องจากอาจมีความแตกต่างของราคาระหว่างสัญญาเก่าและใหม่ จึงขอแนะนำให้ลูกค้าตรวจสอบและจัดการโพสิชันของคุณตามความเหมาะสม วันหมดอายุ: สัญลักษณ์ คำอธิบาย วันที่ JPN225ft Japan 225 Index Future…

2 weeks ago

ตัวชี้วัดการเทรดที่นักลงทุนต้องรู้ เพื่อวัดประสิทธิภาพการลงทุน

ในการลงทุนที่ประสบความสำเร็จ นักลงทุนควรใช้ตัวชี้วัดการเทรดที่มีประสิทธิภาพเพื่อประเมินผลการลงทุนของตนเอง ตัวชี้วัดเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยในการตัดสินใจในการซื้อขาย แต่ยังช่วยให้คุณวัดประสิทธิภาพและปรับปรุงกลยุทธ์การลงทุนของคุณได้อย่างต่อเนื่อง นี่คือตัวชี้วัดสำคัญที่นักลงทุนทุกคนควรรู้ 1. อัตราการชนะ (Win Rate) คือสัดส่วนของจำนวนการเทรดที่ประสบความสำเร็จเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนการเทรดทั้งหมดที่ดำเนินการ โดยเป็นตัวชี้วัดที่ช่วยในการประเมินประสิทธิภาพของกลยุทธ์การลงทุนหรือการเทรด อัตราการชนะบ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรจากการเทรด และเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้คุณทราบว่าแนวทางการเทรดของคุณมีประสิทธิภาพเพียงใด วิธีการคำนวณ: ตัวอย่าง:…

4 weeks ago

(อัปเดต)ประกาศเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายประจำเดือนพฤศจิกายน

เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ โปรดตรวจสอบตารางการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายประจำเดือนพฤศจิกายนด้านล่างนี้ โปรดดูตารางด้านล่างสำหรับตราสารอนุพันธ์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2024(วันพุธ) 28 พฤศจิกายน 2024(วันพฤหัส) 29 พฤศจิกายน 2024(วันศุกร์) 30 พฤศจิกายน…

4 weeks ago