โดยทั่วไปแล้ว ก่อนที่เราจะทำการออกออเดอร์ เราจะต้องพิจารณาก่อนว่าจะต้องเข้าออเดอร์ที่บริเวณใดดี และเมื่อทำการเข้าออเดอร์แล้วก็จะต้องทำการกำหนดเป้าหมายของราคา ซึ่งโดยทั้่วไปแล้ว เทรดเดอร์ก็มักจะเลือกเข้าออเดอร์ กับ ปิดออเดอร์ในบริเวณที่เป็นแนวรับหรือแนวต้านสำคัญ โดยมีหลากหลายวิธีที่เทรดเดอร์สามารถนำไปใช้หาแนวรับ หรือ แนวต้านสำคัญได้ ยกตัวอย่างเช่น ราคา High ราคา Low ล่าสุด, รูปแบบ Candle Stick Pattern ต่างๆ ,รูปแบบ Demand Supply Pattern ต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ลำดับตัวเลข Fibonacci ก็ถือเป็นตัวที่ ใช้บอกแนวรับ แนวต้านยอดนิยมอีกตัวหนึ่งเช่นเดียวกัน

ลำดับตัวเลข Fibonanci นั้น เป็นการตั้งชื่อตาม Leonardo Fibonanci ซึ่งถือเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลก เนื่องจากมีการเขียนเกี่ยวกับลำดับตัวเลขดังกล่าวในหนังสือของเขาในช่วงต้นศตวรรษที่ 13 หากแต่เขากลับไม่ใช่เป็นผู้คิดค้น ลำดับตัวเลข Fibonanciแต่อย่างใด เนื่องจากมีการค้นพบในภายหลังว่าลำดับเลขดังกล่าวเป็นที่รู้จักในหมู่นักคณิตศาสตร์ชาวอินเดีย มาก่อนหน้านั้นหลายร้อยปีแล้ว

ลักษณะของลำดับเลข Fibonacci

ลำดับตัวเลข Fibonacci คือ ลำดับตัวเลขที่เกิดจากการเอาตัวเลข 2 ตัวก่อนหน้ามาบวกกัน  โดยจำนวน 2 ตัวแรก คือ 0 และ 1  ฉะนั้นจึงเรียงลำดับตัวเลขได้ออกมาได้เรื่อยๆดังต่อไปนี้ 

      0,1,1,2,3,5,8,13,21,34,55,89,144,233,377 …………

ซึ่งความน่าสนใจของลำดับตัวเลข Fibonacci อยู่ตรงที่หากเราเอาตัวเลขใดๆก็ตามที่อยู่ในลำดับตัวเลข มาหารด้วยเลขก่อนหน้า เราจะได้ตัวเลขที่เข้าใกล้ 1.618 มากขึ้น โดยยิ่งตัวเลขมากเท่าไหร่ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะยิ่งเข้าใกล้มากขึ้นเท่านั้น (ดูตัวอย่างด้านล่าง)

          1/1  = 1

          2/1  = 2

          3/2  = 1.5

          8/5  = 1.6

         13/8 = 1.625

       21/13 =  1.615

       34/21 =  1.619

       55/34 =  1.617

        ทั้งนี้ มีการเรียกสัดส่วนนี้ว่า สัดส่วนทองคำ (Golden Ratio) โดยเราจะพบเห็นสัดส่วนนี้ได้ในหลายอย่างต่างธรรมชาติ เช่น ตาสัปประรด เกลียวรอบของเปลือกหอย คลื่นทะเล เป็นต้น นอกจากนี้ในงานศิลปะระดับโลกหลายๆงานก็ยังมีความเป็นสัดส่วนทองคำซ่อนอยู่เช่นเดียวกัน

การนำเอาลำดับตัวเลข Fibonacci มาใช้ในการเทรด

1.ใช้ในการหาแนวรับ หรือ แนวต้าน ในเชิงการพักตัวของราคา (Retracement)

 ฝั่ง Buy : ใช้ในกรณีที่ราคามีการย่อลงจากกจุด High แล้วเราต้องการหาจังหวะ Buy โดยจุด Buy จะอยู่ที่แนว 23.6% , 38.2% ,50% และ 61.8% ตามลำดับ

วิธีการลากเส้น Fiboncci ใน MT4: ให้ลากจากจุด Low ก่อน High ล่าสุด (จุด A) ไปยังจุด High ล่าสุด (จุด B) ดังภาพด้านล่าง

ฝั่ง Sell:: ใช้ในกรณีที่ราคามีการดีดขึ้นมาจากจุด Low และ เราต้องการหาจังหวะในการ Sell ซึ่งจุด Sell ก็จะอยู่ที่แนว 23.6%, 38.2%,50% และ 61.8% ตามลำดับ

วิธีการลากเส้น Fiboncci ใน MT4: ให้ลากจากจุด High ก่อน Low ล่าสุด(จุด A) ไปยังจุด Low ล่าสุด (จุด B) ดังภาพด้านล่าง

2.ใช้ในการหาเป้าหมายราคาในการปิดออเดอร์   (Extension)

เป้าหมายราคาฝั่ง Buy: ใช้ในกรณีที่เมื่อเราทำการ Buy แล้ว เราต้องการทราบว่าควรจะปิดออเดอร์ที่บริเวณไหนดี ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้แนว Fibonacci บริเวณ 100% , 161.8 % และ 261.8 % เป็นจุดเป้าหมายของราคา

วิธีการลากเส้น Fiboncci ใน MT4: ให้ลากจากจุด High ก่อน Low ล่าสุด(จุด A) ไปยังจุด Low ล่าสุด (จุด B) ดังภาพด้านล่าง

เป้าหมายราคาฝั่ง Sell : ใช้ในกรณีที่เมื่อเราทำการ Sell แล้ว เราต้องการทราบว่าควรจะปิดออเดอร์ที่บริเวณไหนดี ซึ่งโดยปกติแล้ว จะใช้แนว Fibonacci บริเวณ 100% ,161.8% และ 261.8% เป็นจุดเป้าหมายของราคา

วิธีการลากเส้น Fiboncci ใน MT4: ให้ลากจากจุด Low ก่อน High ล่าสุด (จุด A) ไปยังจุด High ล่าสุด (จุด B) ดังภาพด้านล่าง

สรุป

โดยหลักๆ แล้ว Fibonacci เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ได้ทั้งสำหรับการหาจุดเข้าออเดอร์ และ ใช้สำหรับการกำหนดเป้าหมายของราคา โดยเทรดเดอร์อาจใช้ประโยชน์จากทั้ง 2 กรณีก็ได้ หรือ จะใช้ประโยชน์เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ กล่าวคือ เราอาจใช้เทคนิคการเข้าออเดอร์แบบอื่นๆ แล้วใช้ Fibonacci มาหาเป็นเป้าหมายราคา หรือ เราจะใช้ Fibonacci ในการหาจุดเข้าออเดอร์ ในขณะที่ใช้เทคนิคอื่นๆในการกำหนดจุดปิดออเดอร์ก็ได้เช่นเดียวกัน โดยหากเทรดเดอร์อยากพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องทำการทดสอบ(Backtest,Forwardtest) ด้วยตัวเอง เพื่อที่อจะได้เลือกค่าที่เหมาะสมกับระบบเทรดของเรา

*การซื้อขายและลงทุนใน Forex และ CFD มีความเสี่ยงสูง อาจทำให้สูญเสียมากกว่าเงินทุนทั้งหมด

thailand

Recent Posts

ประกาศเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายประจำเดือนธันวาคม

เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ โปรดตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ตามวันหยุดประจำเดือนธันวาคม โปรดดูตารางด้านล่างสำหรับตราสารอนุพันธ์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง: วันที่ 24 ธันวาคม 2024 (วันอังคาร) 25 ธันวาคม 2024 (วันพุธ) 26 ธันวาคม 2024…

3 days ago

ประกาศเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายประจำเดือนธันวาคม

เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ โปรดตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ตามวันหยุดประจำเดือนธันวาคม โปรดดูตารางด้านล่างสำหรับตราสารอนุพันธ์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง วันที่ 16 ธันวาคม 2024 (วันจันทร์) 23 ธันวาคม 2024 (วันจันทร์) วันหยุด วันแห่งการปรองดอง คริสต์มาสอีฟ…

1 week ago

Announcement on Recent Gold Spread Fluctuations

Dear Valued Clients, The global gold market has experienced significant volatility recently, with market liquidity…

1 week ago

(อัปเดต)แจ้งเตือนการโรลโอเวอร์ประจำเดือนธันวาคม

เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ ขอเรียนให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ซื้อขาย CFD ต่อไปนี้จะโรลโอเวอร์อัตโนมัติตามวันที่ระบุไว้ในตารางด้านล่างนี้ เนื่องจากอาจมีความแตกต่างของราคาระหว่างสัญญาเก่าและใหม่ จึงขอแนะนำให้ลูกค้าตรวจสอบและจัดการโพสิชันของคุณตามความเหมาะสม วันหมดอายุ: สัญลักษณ์ คำอธิบาย วันที่ JPN225ft Japan 225 Index Future…

2 weeks ago

ตัวชี้วัดการเทรดที่นักลงทุนต้องรู้ เพื่อวัดประสิทธิภาพการลงทุน

ในการลงทุนที่ประสบความสำเร็จ นักลงทุนควรใช้ตัวชี้วัดการเทรดที่มีประสิทธิภาพเพื่อประเมินผลการลงทุนของตนเอง ตัวชี้วัดเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยในการตัดสินใจในการซื้อขาย แต่ยังช่วยให้คุณวัดประสิทธิภาพและปรับปรุงกลยุทธ์การลงทุนของคุณได้อย่างต่อเนื่อง นี่คือตัวชี้วัดสำคัญที่นักลงทุนทุกคนควรรู้ 1. อัตราการชนะ (Win Rate) คือสัดส่วนของจำนวนการเทรดที่ประสบความสำเร็จเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนการเทรดทั้งหมดที่ดำเนินการ โดยเป็นตัวชี้วัดที่ช่วยในการประเมินประสิทธิภาพของกลยุทธ์การลงทุนหรือการเทรด อัตราการชนะบ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรจากการเทรด และเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้คุณทราบว่าแนวทางการเทรดของคุณมีประสิทธิภาพเพียงใด วิธีการคำนวณ: ตัวอย่าง:…

4 weeks ago

(อัปเดต)ประกาศเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายประจำเดือนพฤศจิกายน

เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ โปรดตรวจสอบตารางการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายประจำเดือนพฤศจิกายนด้านล่างนี้ โปรดดูตารางด้านล่างสำหรับตราสารอนุพันธ์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2024(วันพุธ) 28 พฤศจิกายน 2024(วันพฤหัส) 29 พฤศจิกายน 2024(วันศุกร์) 30 พฤศจิกายน…

4 weeks ago